วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

ไส้เลื่อน (Hernia)



          ภาวะที่ลำไส้เคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาสู่ภายนอกพบมาก บริเวณขาหนีบและบริเวณลูกอัณฑะ ในเพศชาย เกิดจากการที่ผนังบุช่องท้องมีความอ่อนแอ และความดันภายในช่องท้องดันเอาลำไส้ออกมาตรงตำแหน่งที่ผนังบุช่องท้องที่อ่อนแอนั้น บางครั้งลำไส้อาจเคลื่อนกลับเข้าไปในช่องท้องได้ก็จะไม่มีอาการอะไร ถ้าหากลำไส้ที่เคลื่อนออกมาแล้วกลับเข้าไปในช่องท้องไม่ได้ จะทำให้รู้สึกหน่วงๆ เวลายืนหรือเดิน ถ้าเกิดเป็นเวลานานๆ ลำไส้เคลื่อนออกมาขาดเลือดมาเลี้ยงจะทำให้ลำไส้ตาย และเน่าได้จะก่อให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงได้   
 
 
ปกติอวัยวะเช่นลำไส้ ตับจะถูกปกคลุม โดยเยื่อหุ้มช่องท้องที่เรียกว่า peritonium และมีพังผืดหรือกล้ามเนื้อหุ้มอีกชั้น เพื่อป้องกันอวัยวะภายใน ปกติจะมีรูที่ให้ท่อรังไข่ และท่อนำเชื้อในผู้ชายผ่านทางรู เมื่อมีความอ่อนแอของพังผืด ไส้ก็จะเลื่อนออกมาที่ขาหนีบ ซึ่งมีสองชนิดคือ indirect inguinal hernia และ direct inguinal hernia



Indirect inguinal hernia

     ขณะเป็นตัวอ่อนในท้อง อัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง เมื่ออายุครรภ์ได้ 7 สัปดาห์อัณฑะจะเคลื่อนที่ออกจากช่องท้องมาอยู่ในถุงอัณฑะ และรูหรือทางที่มันเคลื่อนที่จะปิด แต่เด็กผู้ชายบางคนทางเดินและรูมันไม่ปิดทำให้ลำไส้เคลื่อนสู่ถุงอัณฑะที่เราเรียกว่าไส้เลื่อนซึ่งมักจะพบในผู้ชาย สำหรับผู้หญิงก็เกิดโรคนี้ได้เหมือนกัน โดยรูที่เปิดเกิดจากเยื่อที่ยึดมดลูก round ligament มีการเคลื่อนตัวเหมือนอัณฑะ ไส้เลื่อนชนิดนี้พบบ่อยที่สุด

Direct inguinal hernia

         ลำไส้ไม่เคลื่อนออกจากช่องท้องบริเวณพังผืดที่หย่อนที่สุด โดยมีปัจจัยส่งเสริมคือมีความดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น เช่นตับแข็งและมีน้ำในช่องท้อง หรือพวกถุงลมโป่งพองไอมากๆ  ไอเรื้อรัง คนท้อง คนอ้วน ท้องผูก ต่อมลูกหมากโตทำให้ต้องเบ่งเมื่อปัสสาวะ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงช่วยให้เกิดไส้เลื่อน


อาการ

   มีก้อนที่บริเวณขาหนีบ จะโตขึ้นเวลายกของหนักหรือไอแรงๆจะทำให้ก้อนโผล่ออกมา และอาจจะรู้สึกมีเสียงเคลื่อนไหวของลำไส้เหมือนเวลาเราหิวข้าว เมื่อนอนลง หรือจับก้อนยัดเข้าไปในรูก้อนจะหายไป

อาการที่ควรมาพบแพทย์  

   ปวดปวดบริเวณไส้เลื่อน  ก้อนดันกลับเข้าช่องท้องไม่ได้  ปวดท้องและท้องอืด ไม่ผายลม


โรคแทรกซ้อน

  • Incarcerated hernia เป็นภาวะที่ลำไส้เคลื่อนออกมาแล้วไม่สามารถดันกลับเข้าไปในช่องท้อง
  • Strangulated hernia เป็นภาวะที่ลำไส้ในถุงมีการบิดทำให้ลำไส้เกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงและเกิดไส้เน่าตามมา ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องอย่างมากแรกๆจะปวดบิดๆ คลื่นไส้อาเจียน เมื่อลำไส้เน่าจะปวดทั้งท้องปวดมากจนต้องนอนนิ่งๆ การขยับตัวก็จะปวด มีไข้ บางรายอาจจะมีอาการความดันโลหิตต่ำ
  • Bowel obstruction เกิดเมื่ออุจาระไม่สามารถเคลื่อนผ่านลำไส้นี้ไปได้ผู้ป่วยจะปวดท้องมวนๆ คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดไม่ผายลม
การป้องกัน

       ด้วยการทำให้ร่างกายฟิตอยู่เสมอ ออกกำลังกายถูกวิธี รักษาสภาวะโครงสร้างร่างกายให้สมดุล บริหารร่างกายแบบที่ได้ระบบการหายใจและการไหลเวียนของเลือด และบริหารกล้ามเนื้อเฉพาะมัดด้วย เน้นกล้ามเนื้อมัดลึก มัดที่เป็นหลักในการทำให้โครงสร้างมั่นคง พยุงส่วนอวัยวะต่างๆ ไว้ เช่น กล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังชั้นลึก กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

 

การรักษา

1.ระยะแรก

           ดูแลรักษาด้วยตัวเอง ได้แก่ การบริหารร่างกาย โดยเฉพาะการออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งต้องเป็นการบริหารเฉพาะมัดกล้ามเนื้อ แต่ไม่ให้เกิดแรงดันมากที่ช่องท้อง เพราะจะทำให้เกิดแรงดันให้ไส้เลื่อนมามากกว่าเดิม ต้องได้รับคำแนะนำจากนักกายภายบำบัด

           หลีกเลี่ยงการเกิดแรงดันมากที่ช่องท้อง ได้แก่ ไม่ไอ/จามแรงๆ หากต้องไอต้องประคองหน้าท้องเอาไว้ ไม่ยกของหนักจนเกินไป กินอาหารประเภทผักผลไม้ให้มาก กินไขมันน้อย ลดการสะสมไขมันหน้าท้องเพราะจะทำให้อ่อนแรงมากขึ้น

 

    2.การผ่าตัด มี 2 แบบ

 1.Herniorrhaphyผ่าตัดบริเวณไส้เลื่อนเมื่อนำไส้กลับเข้าในช่องท้องแล้วก็เย็บซ่อมรูหรือจุดอ่อน


 
 
2. Hernioplasty วิธีนี้จะใช้แผ่นสารสังเคราะห์เย็บปิดรูหรือจุดอ่อน   วัสดุโครงร่างช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ เรียกว่า Mesh graft เพื่อช่วยผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อน ผลิตจากพอลิเมอร์สังเคราะห์ มีลักษณะเป็นร่างแหสำหรับใช้ในการปกคลุมแผลผ่าตัดแทนการใช้เนื้อจากผนังช่องท้องของผู้ป่วยมาปิด พอลิเมอร์ชนิดนี้จะกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ขึ้นมาห่อหุ้มบริเวณแผลผ่าตัดจนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน และวัสดุดังกล่าวจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อเยื่อใหม่ทันที โดยไม่เกิดพิษใดๆ  อัตราการกลับเป็นซ้ำของโรคลดลงถึงร้อยละ 1-10
 
 
 
 
รพ.อานันทมหิดล ยังไม่มีการใช้กล้องผ่าตัด โรคนี้นะค่ะ เพราะไม่คุ้มค่า โอกาสเกิดใหม่ได้มากกว่าการผ่าแบบ เปิดบริเวณขาหนีบ แผลไม่น่าเกิน 2 นิ้วค่ะ  มีผู้ป่วยมาผ่าตัดกันเยอะค่ะ ไม่ต้องกลัว คุณหมอ  คุณพยาบาล ใจดี ทุกคนค่ะ
 
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดและเมื่อกลับบ้าน
1.ไม่ให้แผลเปียกชื้น จนกว่าจะตัดไหม
2. ห้ามแกะ เกา ล้วงบริเวณแผล เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ หรือเป็นหนอง
3. ขณะไอหรือจามให้ใช้ฝ่ามือ หรือผ้าหนานุ่มกดประคองแผลได้
4.หลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะ
5. ห้ามทำงานหนัก หรือยกของหนัก อย่างน้อย 2 เดือน
6.ดูและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ถ้าเป็นหวัด เจ็บคอ หรือไอจามบ่อยๆ ควรรีบพบแพทย์
7.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ รวมทั้งผัก ผลไม้ และดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก
8.ควรใส่กางเกงในที่กระชับ หรือสปอร์ตเตอร์สำหรับนักกีฬา เพื่อช่วยประคองแผล ลดความเจ็บปวด
9. ถ้ามีอาการปวดแผลมาก ควรรับประทานยาบรรเทาปวดตามแพทย์สั่ง
10.ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น มีไส้เลื่อนเกิดซ้ำ แผลแยกหรือบวม แผลมีน้ำเหลืองซึม มีไข้ ปวดท้อง ให้รีบมาพบแพทย์
พบกันใหม่ เรื่องต่อไปนะค่ะ

วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

สถานที่ตั้งห้องผ่าตัด

       
                ตั้งอยู่ชั้น 2 ของอาคารกัลยานิวัฒนา อยู่หลังอาคารตึก 6 ชั้น (อาคารตึก 6 ชั้น คือ อาคารที่เป็นวงกลม 3 วงที่เห็นค่ะ) มีทางเชื่อมระหว่าง อาคารทั้งสอง เพื่อใช้รับส่งผู้ป่วยจาก ห้องฉุกเฉิน และหอผู้ป่วย ได้สะดวก                ส่วน หออภิบาลผู้ป่วยอาการหนัก ใช้ลิฟท์ เพราะอยู่ชั้น 3 ของตึกเดียวกัน   เดินทางโดยรถยนต์ สะดวกสบาย        เข้าโรงพยาบาลผ่านตึกผู้บังคับบัญชาด้านหน้า และขับรถ วนทาง OneWay รอบอาคาร 6 ชั้น เรื่อยมาจะถึง.            อาคารกัลยนิวัฒนา ค่ะ ที่จอดรถ อาจจะน้อยไป เนื่องจากมีผู้ใช้บริการมาก ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

                                                  ประวัติ....อาคารกัลยานิวัฒนา







                 






วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

การผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง


  (Caesarean section)

          การผ่าที่บริเวณส่วนท้องของมารดา (ผ่าท้องและผ่ามดลูก) เพื่อให้ทารกในครรภ์คลอด  ทำเมื่อการคลอดทางช่องคลอดอาจเสี่ยงอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตของมารดาหรือเด็ก แต่ปัจจุบันจะมีการผ่าท้องทำคลอดตามความประสงค์ของมารดามากขึ้น
การผ่าท้องทำคลอด
          1.ผ่าตามแนวตั้งตรงกลางของมดลูก
          2.ผ่าท้องทำคลอดชนิดตัดส่วนล่างของมดลูก

ข้อบ่งชี้ของการผ่าท้องทำคลอด ได้แก่
1.การคลอดลำบาก
2.ทารกอยู่ในภาวะคับขัน (fetal distress)
3.สายสะดือย้อย (cord prolapse)
4.มดลูกแตก (uterine rupture)
5.รกผิดปกติ เช่น รกเกาะต่ำ รกลอกก่อนกำหนด หรือรกงอกติด
6.ส่วนนำของทารกผิดปกติ เช่น ท่าก้น ท่าขวาง
7.การใช้อุปกรณ์ช่วยคลอด เช่น ใช้คีมหรือเครื่องดูดสุญญากาศล้มเหลว
8.มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์ เช่น  โรคพิษแห่งครรภ์ระยะก่อนชัก (pre-eclampsia). ความดันโลหิตสูง  แฝดเคยคลอดทารกที่มีความเสี่ยงสูง    มารดาติดเชื้อเอชไอวี
9.ประวัติเคยผ่าท้องทำคลอด



ขั้นตอนในการผ่าตัดคลอด

1.ท่านจะได้รับการซักประวัติการเจ็บป่วยและโรคประจำตัว
2.ลงชื่อในหนังสือแสดงความยินยอม
3.ให้สายน้ำเกลือเข้าหลอดเลือดดำที่แขน
4.ได้รับการสวนอุจจาระ
5. ใส่สายสวนไว้  ใน กระเพาะปัสสาวะ  เพื่อระบายปัสสาวะ (ใส่ไว้ประมาณ 12-24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด)
6.โกนขนบริเวณหัวหน่าวเพื่อเตรียมรับการผ่าตัด
7.งดอาหารก่อนการผ่าตัดอย่างน้อย 6-8  ช.ม.



การเตรียมการสำหรับการผ่าตัดคลอด

              ปัจจุบัน เพื่อลดความเจ็บปวดและทำการผ่าตัดได้อย่างได้ผล  สูติแพทย์จะแนะนำให้ดมยาสลบหรือฉีดยาเข้าไขสันหลัง โดยจะไม่รู้สึกเจ็บระหว่างผ่าตัด แต่การดมยาสลบ คุณแม่จะไม่มีส่วนร่วมในการคลอด ไม่สามารถเห็นหน้าลูกทันทีที่เขาคลอด เพราะจะหลับไม่รู้ตัวและฟื้นตัวอีกทีหลังคลอด คุณแม่ส่วนใหญ่ จึงไม่เลือกวิธีนี้ อีกทั้งยาสลบอาจมีผลต่อลูกได้ เช่น ลูกคลอดแล้วไม่ร้อง ไม่ค่อยหายใจ เพราะเขาได้รับยาสลบเข้าไปด้วย ส่วนการฉีดยาเข้าไขสันหลังหรือบล็อกหลัง(การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังหรือการฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง)
นั้น ทารกไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด เพราะไม่ได้ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด เพียงแต่จะทำให้ส่วนล่างชา ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด แต่คุณแม่สามารถรับรู้ได้ทุกอย่าง พร้อมทั้งได้ยินเสียงลูกและได้เห็นหน้าลูกทันทีที่เขาคลอดออกมา


การผ่าตัดคลอด

        เมื่อวิสัญญีแพทย์ทำการบล็อกหลัง จนยาชาออกฤทธิ์ แพทย์จะเริ่มลงมือผ่าตัดด้วยการผ่าเปิดหน้าท้องเพื่อให้สามารถมองเห็นทารกที่อยู่ในถุงน้ำคร่ำ และนำทารกออกจากถุงน้ำคร่ำ    การผ่าตัดนำบุตรออกจากท้องจะใช้เวลาอย่างรวดเร็วภายใน  3-5 นาทีโดยที่คุณแม่จะรู้สึกถึงแรงกดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อนำรกออกจากครรภ์จนหมดแล้ว แพทย์จะเย็บปิดมดลูกและหน้าท้องด้วยรอยเย็บที่ประณีต  ใช้เวลาประมาณ  30-45  นาที หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะพากลับไปยังห้องรอฟื้นจนอาการปกติ จึงนำกลับหอผู้ป่วย






การดูแลลูกน้อย

      ระหว่างที่แพทย์ทำการเย็บแผล  ทารกจะถูกนำไปไว้ใน “ตู้อบ”  ที่ อบอุ่นขนาดเล็ก เพื่อให้กุมารแพทย์ดูดเสมหะ เช็ดตา ตัดสายสะดือ ชั่งน้ำหนัก ทำการตรวจร่างกายทารก ถ้ามีสุขภาพแข็งแรง แพทย์จะห่อตัวลูกด้วยผ้าห่มและส่งให้คุณแม่ชื่นชมขณะนอนผ่าตัด แล้วจึงนำทารกไปดูแลห้องเด็กอ่อน

การฟื้นตัวจากการผ่าตัดคลอด

         โดยส่วนใหญ่ จะฟื้นตัวได้ภายใน 24 ชั่วโมง และออกจากโรงพยาบาลได้ภายใน 3 วัน แต่ใช้เวลาประมาณ 6  สัปดาห์เพื่อให้รอยแผลจากการผ่าตัดคลอดหายดี ดังนั้น คุณแม่จะต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษเมื่อกลับไปพักฟื้นที่บ้านเพื่อที่จะได้พักผ่อนและใช้เวลาอยู่กับลูกน้อยได้อย่างเต็มที่

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงของการตรวจรักษา

  •   เสียเลือดมากกว่าการคลอดทางช่องคลอดถึง 2 เท่า
  •   อาจเกิดภาวะติดเชื้อ
  •   อาจบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ  หลอดไต หรือ ลำไส้
  •   ความเสี่ยงจากการให้ยาชาเข้าไขสันหลัง  หรือ ดมยาสลบ
  •   เจ็บแผลนานกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ

ระยะเวลาที่แผลจะหาย

             จะใช้เวลาประมาณ  2 - 4  สัปดาห์ แผลที่เย็บไว้จึงจะสมานเข้าด้วยกัน แต่ก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน อย่างไรก็ตาม แผลเย็บจะค่อยๆ สมานเข้าด้วยกันซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 - 12 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับลักษณะของการเย็บ   สิ่งสำคัญคือขอให้คุณแม่ดูแลความสะอาดของแผลเป็นอย่างดี เพื่อให้กลไกของร่างกายสมานแผลเข้าด้วยกันโดยไม่มีปัญหา เช่น ไม่เกิดการติดเชื้อ


คำแนะนำในการดูแลให้แผลสมานตัวเร็วขึ้นหลังคลอดลูก

  •    เปิดแผลผ่าตัด หรือ ถูกน้ำได้หลังผ่าตัดประมาณ  7  วัน รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้ง
   •    ควรผ่อนคลายและอย่าทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงมากนัก

  •    ต้องระวังอย่าให้ผ้าอนามัยไปขูดสีกับแผลที่เย็บไว้ และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ

  •    คุณแม่ควร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ อย่างสม่ำเสมอ โดยเน้นที่อาหารที่มีกากใยสูงและดื่มน้ำมากๆ เพื่อไม่ให้ท้องผูก
  •    ออกกำลังกายปกติได้หลัง  6  สัปดาห์

   *** ถ้าเจ็บตึงบริเวณแผลมาก หรือสงสัยว่าอาจมีการอักเสบติดเชื้อ ควรรีบไปพบสูติแพทย์ทันที