วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มะเร็งเต้านม

                                     เต้านม
ประกอบด้วย ท่อน้ำนม  ต่อมน้ำนม ไขมัน และผิวหนัง ต่อมน้ำนม จะมีท่อเล็กๆของต่อมน้ำนมมารวมเป็นท่อใหญ่ แล้วเปิดที่หัวนม
   



มะเร็งเต้านม



                 เกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง. อาจจะเกิดกับท่อน้ำนม หรือต่อมน้ำนม มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุด ร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม







ปัจจัยเสี่ยง

1.อายุ > 40 ปีขึ้นไป

2.มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม

3.ผู้ที่มีบุตรหลังอายุ 30 ปี รวมทั้ง หญิงที่ไม่เคยมีบุตร จะมีความเสี่ยงมากขึ้น

4.การกลายพันธุ์ของยีน เช่น การเกิดการกลายพันธุ์ของยีน BRCA1 หรือ BRCA2 สามารถทำให้เกิดมะเร็งเต้านม และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้

5.ผู้หญิงที่มีเต้านมเต่งตึงกว่าอายุ และมีความหนาแน่นของเต้านมาก จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนปกติ

6.ผู้หญิงที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี หรือ ประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี จะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม ได้ง่ายกว่าคนปกติ

7.ผู้ที่รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง รวมทั้ง ผู้ที่ได้รับยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน อาจเกิดมะเร็งเต้านมมากยิ่งขึ้น

8.การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มโอกาสในการเกิดเป็นมะเร็งเต้านมมากขึ้น

อาการ

        ระยะเริ่มต้นจะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด เมื่อก้อนโตขึ้นจะทำให้เกิดอาการดังต่อไปนี้

1.คลำพบก้อนที่เต้านมหรือใต้รักแร้

2.มีการเปลี่ยนแปลงของขนาดเต้านม
 
 
 


3.มีน้ำไหลออกจากหัวนม หรือเจ็บ หัวนมถูกดึงรั้งเข้าในเต้านม





4.ผิวที่เต้านมจะมีลักษณะเหมือนเปลือกส้ม





ระยะของมะเร็งเต้านม

ระยะ 0 เป็นระยะเริ่มต้นของเซลล์มะเร็ง ซึ่งยังไม่ลุกลามไปยัง   เนื้อเยื่อเต้านม

ระยะ 1 ก้อนมะเร็งมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร และยังไม่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง

ระยะ 2 ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง 2-5 เซนติเมตร ซึ่งอาจจะลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้หรือไม่ก็ได้ หรือมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร   และลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น



ระยะ 3 ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 เซนติเมตร และรุกรามเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้แล้ว แต่ยังไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น

ระยะ 4 มะเร็งแพร่กระจายไปสู่อวัยวะอื่น ๆ แล้ว





      การตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะแรกเริ่ม. ได้แก่
1.การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
2.การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือพยาบาล
3.การตรวจเต้านมด้วย แมมโมแกรม ( Mammography ) ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรอง

การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
                                            
                                                 

การตรวจ Mammography

            เป็นการตรวจเต้านมโดยใช้รังสีปริมาณน้อย แต่มีความคมชัดสูง การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถทำให้การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมได้เร็วกว่า การคลำถึง 2 เท่า ได้มีการแนะนำให้ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปให้ตรวจเป็นประจำทุกปี




 การเตรียมตัวก่อนการตรวจ Mammography

1.แจ้งปัญหาของเต้านม ประวัติครอบครัว ประวัติส่วนบุคคลรวมทั้งประวัติการใช้ฮอร์โมน
2.ควรตรวจหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้วหนึ่งสัปดาห์
3.ไม่ควรใช้น้ำหอมหรือใช้แป้งทาบริเวณรักแร้และเต้านมในวันที่จะตรวจ เนื่องจากจะทำให้รบกวนการตรวจ
4.ควรจะนำฟิมล์เก่าไปด้วยทุกครั้ง
5.ให้ฟังผลกับแพทย์ของท่านเท่านั้น

           เครื่อง Mamography เป็นเครื่อง x-ray ที่ใช้ตรวจเต้านมซึ่งต้องประกอบด้วยเครื่องที่ทำให้เกิดรังสีและส่วนที่ใช้บีบและตรวจเต้านม เมื่อให้รังสีแก่เต้านมรังสีบางส่วนจะถูกดูดซึมโดยเนื้อเยื่อเต้านม บางส่วนก็ผ่านไปยังฟิลม์ทำให้เกิดภาพขึ้นมา ระหว่างการตรวจจะต้องมีการบีบเต้านม ตรวจในแนวบนล่าง และแนวซ้ายขวา เพื่อ
      1.ทำให้เต้านมแบนราบ ไม่เคลื่อนไหว ภาพชัดเจน
      2.ไม่มีการรบกวนจากเนื้อเยื่อที่หนา

ก้อนที่เต้านมชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง  ที่พบบ่อยๆ ได้แก่

                1.Fibrocystic change เป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดไม่เป็นมะเร็ง ก้อนนี้เกิดจากการกระตุ้นของฮอร์โมนทำให้มีถุงน้ำ มักจะมีอาการ ปวดบริเวณก้อนก่อนมีประจำเดือน มักจะเป็นตอนอายุ 30-50 ปีมักจะเป็นสองข้างของเต้านม มีหลายขนาด ตำแหน่งที่พบคือ    บริเวณรักแร้ ก้อนนี้ขยับไปมาได้ เมื่อวัยทองก้อนนี้จะหายไป หากเป็นโรคนี้ไม่ต้องรักษา

                 2.Fibroadenomas มักจะเกิดในช่วงอายุ 20-40 ปีไม่ปวด ก้อนเคลื่อนไปมา การรักษาผ่าเอาออก

                  3.Traumatic fat necrosis เกิดจากการที่เต้านมได้รับการกระแทกและมีเลือดออกในเต้านม มักเกิดในคนที่มีเต้านมโต  ไขมันเกิดการอักเสบรวมกันเป็นก้อนซึ่งอาจจะปวดหรือไม่ก็ได้    ก้อนทั้งหมดจะไม่กลายเป็นมะเร็ง

การป้องกันมะเร็งเต้านม

           ที่สำคัญที่สุด คือ การค้นหาโรคตั้งแต่ยังไม่มีอาการเพื่อจะได้รีบรักษาก่อนที่จะลุกลาม   และสามารถป้องกันโดยลดปัจจัยเสี่ยงให้มากที่สุด  ด้วยการ

1.เปลี่ยนแปลงอาหาร เช่น ลดอาหารเนื้อแดง ลดอาหารมัน งดเกลือ

2.เลือกรับประทานอาหารพวก ผักและผลไม้

3.ควบคุมน้ำหนักมิให้อ้วน ออกกำลังกายอาทิตย์ละ 4 ชั่วโมง  ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมได้

4.งดเว้นการสูบบุหรี่ และ แอลกอฮอล์


การรักษา
            ปัจจุบันเชื่อว่ามะเร็งเต้านมไม่ใช่โรคที่เป็นเฉพาะที่แต่เชื่อว่าเป็นโรคของทั้งระบบของร่างกาย(Systemic Disease) ดังนั้น อาจต้องใช้วิธีรักษาร่วมกันดังนี้



       1.การผ่าตัด จะทำ 2 ขั้นตอนโดยการตัดชิ้นเนื้อออกไปตรวจ เป็นบางส่วน หากผลออกมาเป็นมะเร็งจึงค่อยนัดมาผ่าตัด

       การผ่าตัด มี 2 แบบ คือ

1.1 ตัดเต้านมออกทั้งหมด คือจะตัดเต้านมข้างที่เป็นมะเร็งออกทั้งหมดรวมทั้งเลาะต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ออกไปด้วย เป็นการ  ผ่าตัดมาตรฐานที่ทำกันอยู่





1.2 ตัดเต้านมออกบางส่วน จุดประสงค์ก็คือ ต้องการเก็บ    เต้านมไว้เพื่อความสวยงามโดยอาจตัดออกไปกว้างขึ้นบริเวณที่        ก้อนเนื้องอกอยู่ แต่ว่าการผ่าตัดชนิดนี้ไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วย    ทุกคน และสามารถทำได้ในกรณีที่ ก้อนไม่ใหญ่มาก   ยังคลำไม่พบต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้   และก้อนไม่ได้อยู่ตรงกลางหรือใกล้หัวนม
ผ่าแล้วเต้านมที่เหลือต้องดูสวย เพราะจุดประสงค์ใหญ่คือ           ความสวยงาม นั่นคือถ้าเอาเนื้องอกออกแล้วเต้านมผิดรูปมากไม่สวยก็ไม่ควรทำวิธีนี้






ผลข้างเคียงของการผ่าตัด

        เจ็บบริเวณที่ผ่าตัด   อาจมีการติดเชื้อ หรือแผลหายช้า
ปวดหลัง คอ จาก การตัดเต้านมไปข้างหนึ่งทำให้เสียสมดุล  เจ็บตึงหน้าอก แขนข้างที่ผ่าตัดจะมีแรงน้อยลง   มีอาการชาแขนข้างที่ผ่าตัด   บวมแขนข้างที่ผ่าตัด


       2. รังสีรักษา  Radiation therapy ใช้รังสีเพื่อฆ่าหรือหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง โดยทั่วไปให้ 5 วันต่อสัปดาห์ติดต่อกัน 5-6 สัปดาห์ บางครั้งอาจให้รังสีรักษา เคมีบำบัด หรือให้ฮอร์โมนก่อนการผ่าตัดเพื่อให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง ง่ายต่อการผ่าตัด และ หลังผ่าตัดแบบไม่เอาเต้านมออกทั้งหมด ผู้ป่วยต้องได้รับการฉายแสงบริเวณเต้านมที่เหลือ
   สรุป ถ้า เอาเต้านมออกหมด ไม่ต้องฉายแสง แต่ถ้า เก็บเต้านม ต้องฉายแสง


โดยทั่วไปหลังการผ่าตัดจะต้องตามด้วยการฉายรังสี แต่ก็มีข้อยกเว้นไม่ต้องฉายรังสีคือ
  • ผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปี
  • ขนาดก้อนเล็กกว่า 2 ซม และสามารถผ่าตัดออกได้หมด
  • มะเร็งยังไม่แพร่ไปต่อมน้ำเหลือง
  • ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมน
  • มะเร็งนั้นมี hormone receptor

ผลข้างเคียงของรังสีรักษา
           อ่อนเพลีย    ผิวหนังแห้ง แดง เจ็บ คัน    ก่อนใช้เครื่องสำอางควรปรึกษาแพทย์


       3. เคมีบำบัด  Chemotherapy ใช้ยาฆ่ามะเร็งอาจเป็นยาฉีดหรือยากิน โดยดูระยะของโรค ชนิดของ Cell. มักจะให้ระยะหนึ่งแล้วหยุด เพื่อป้องกันมะเร็งกลับเป็นซ้ำหลังการผ่าตัด  หรือเพื่อลดขนาดของก้อนมะเร็งก่อนผ่าตัด และเพื่อควบคุมโรคในรายที่มะเร็งแพร่กระจายไปที่อวัยวะอื่น

ผลข้างเคียงของเคมีบำบัด
                    ซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำทำให้เหนื่อยง่าย.   ติดเชื้อง่าย และเลือดออกง่าย   ผมร่วง           เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน  เป็นหมัน


      4. ฮอร์โมน  Hormone therapy เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งจะใช้ในรายที่ให้ผลบวกต่อ estrogen หรือ  progesterone receptor หลังจากการผ่าตัด

  ผลข้างเคียงของการใช้ฮอร์โมน

                  ยาจะยับยั้งการใช้ฮอร์โมนแต่ไม่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนทำให้ผู้ป่วยจะมีอาการ วูบวาบ. น้ำหนักขึ้น   ตั้งครรภ์ง่าย  คันช่องคลอด มีตกขาวควรตรวจภายในทุกปีและรายงานแพทย์เมื่อมีอาการผิดปกติ



คำแนะนำ

1.การเตรียมความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ โดย  1 วันก่อนผ่าตัด. ผู้ป่วย จะต้องทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ สระผม ตัดเล็บ งดน้ำและอาหารหลังเที่ยงคืน

2.การลงนามยินยอมผ่าตัด

3. การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด.
         ผู้ป่วยเริ่มบริหารข้อไหล่ได้ตั้งแต่วันที่  2  หรือ  3  หลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันข้อหัวไหล่ติดยึดและเพื่อเพิ่มกำลังให้กับแขน.   รายที่ แขนบวมหลังผ่าตัด. ให้ยกแขนไว้บนหมอนเวลานอน





             การบริหารข้อไหล่ เพื่อป้องกันไหล่ติด
มี 4 ท่า คือ
             1.  ท่าแกว่งแขนเป็นวงกลม
             2.   ท่าไต่ผนัง
             3.   ท่าดึงเชือกขึ้นลง
             4.    ท่าแกว่งเชือกเป็นวงกลม

          ท่าแกว่งแขนเป็นวงกลม : ให้ผู้ป่วยยืนข้างเตียงหันแขนขวาเข้าหาเตียง และเอามือเท้าขอบเตียงไว้ ขณะเดียวกัน ให้ผู้ป่วยก้มหลังลงเล็กน้อยพร้อมกับทิ้งแขนลงตามธรรมชาติ หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยแกว่งแขน เป็นวงกลม เริ่มด้วยการแกว่งแขนตามเข็มนาฬิกา 5 รอบ ในขณะที่ผู้ป่วยแกว่งแขน ข้อศอกต้องเหยียดตรง ควรบริหารวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5 รอบ



     
ท่าไต่ผนัง : ให้ผู้ป่วยยืนตรงหน้าเข้าหาฝาผนัง ห่าง ประมาณ 6 นิ้ว ปลายเท้าทั้ง 2 ห่างจากกันเล็กน้อย และ งอข้อศอกหงายฝ่ามือทั้งสองไปข้างหน้าจนมือแตะกับฝาผนังและมืออยู่ในระดับ เดียวกับไหล่ หลังจากนั้นใช้ปลายนิ้วมือทั้งสองไต่ขึ้นไปบนฝาผนังจนแขนเหยียดตรง แล้วจึงค่อยๆ เลื่อนมือลงจน อยู่ในระดับเดียวกับไหล่ ควรบริหารวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5 รอบ





        ท่าดึงเชือกขึ้นลง  :  ใช้เชือก  1  เส้น  ยาวประมาณ  5-6  ฟุต  คล้องกับเสาน้ำเกลือขณะที่ผู้ป่วยอยู่ใน โรงพยาบาล  หรือคล้องกับราวเหนือศีรษะขณะที่ผู้ป่วยอยู่ที่บ้าน  ให้ผู้ป่วยนั่งหรือยืนพร้อมกับใช้มือทั้งสองข้าง จับปลายเชือก ไว้ข้างละปลาย  หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยดึงเชือกขึ้นจนสุด  และดึงเชือกลงจนสุด  ในขณะที่ผู้ป่วยดึงเชือก
ขึ้นลงนี้แขนของผู้ป่วยต้องเหยียดตรงและกางออก  ควรบริหาร
วันละ  2  ครั้ง  ครั้งละ  5  รอบ






        ท่าแกว่งเชือกเป็นวงกลม  :  ใช้เชือก  1  เส้น  
ยาวประมาณ  5-6  ฟุต  ผูกปลายเชือกข้างหนึ่งไว้กับปุ่มล็อค
ของประตู  ให้ผู้ป่วยยืนถือปลายเชือกข้างที่เหลือ  หลังจากนั้นให้
ผู้ป่วยแกว่งเชือกเป็นวงกลม  เริ่มด้วยแขนซ้ายก่อน และตามด้วย
แขนขวา  ในขณะที่ผู้ป่วยแกว่งเชือกเป็นวงกลม  ข้อมือและข้อศอกของผู้ป่วยต้องเหยียดตรง  ผู้ป่วยควร บริหารข้อไหล่ด้วยการแกว่งเชือกเป็นวงกลมวันละ  2  ครั้ง  ครั้งละ  5  รอบ

 




โรงพยาบาลอานนันทมหิดล ของเรา มีศัลยแพทย์ผู้เชียวชาญด้านนี้ โดยเฉพาะอยู่ 1 ท่านค่ะ
ชื่อ                            พ.ท.นิกร ไวประดับ 

     ออกตรวจ OPD เต้านม   โดยเฉพาะ ทุกวันจันทร์ 8.30-12.00 น ที่ OPD ศัลยกรรม
และที่โรงพยาบาลของเรา มีเครื่องตรวจ Mammography สงสัยโทรมาปรึกษา ตามเบอร์โทร ในบทความแรกๆนะค่ะ ถ้าหากไม่พบแสดงว่า อ่านเรื่องราว ของเร    ชาว ห้องผ่าตัด รพ อานันทมหิดล   ลพบุรี ไม่ครบถ้วนค่ะ
พบกันใหม่เรื่องต่อไปนะค่ะ หมั่นตรวจเต้านม
ตามคำแนะนำ หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง
ถ้าพบความผิดปกติ
ให้หมอตรวจ ตามวันและเวลานะค่ะ

















 

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ก้อนเนื้อหรือถุงน้ำบริเวณข้อมือ

(Carpal ganglion)

     เป็นก้อนถุงน้ำพบบ่อยบริเวณหลังข้อมือ ส่วนใหญ่จะเป็นถุง ซึ่งบรรจุน้ำข้นเหนียว ลักษณะเดียวกันกับน้ำไขข้อ อยู่ภายใน ก้อนที่พบอาจมีขนาดตั้งแต่เมล็ดถั่ว จนถึงขนาดปลายนิ้วหัวแม่มือ อาจยึดแน่นอยู่กับข้อมือ หรืออาจมีการเคลื่อนที่ได้ เล็กน้อย





อาการ

     เป็นก้อนนูนขึ้น   ค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ และไม่เคลื่อนที่ กดไม่เจ็บ   อาจปวดข้อมือเล็กน้อย  เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก  เนื่องจากก้อนถุงน้ำ ไปกดเบียด  เส้นเอ็นหรือเยื่อบุข้อ  ถ้ากระดกข้อมือขึ้น  หรือ งอข้อมือลง  จะทำให้ขนาดของก้อนถุงน้ำเปลี่ยนแปลง   ถ้าปล่อยไว้ก้อนจะค่อยๆโตอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลา นานหลายเดือน หรือ เป็นปี





สาเหตุ

      ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากการเสื่อมสลายของเนื้อเยื้อหุ้มข้อมือจึงเกิดเป็นจุดอ่อนขึ้นจนทำให้น้ำหล่อเลี้ยงข้อมือรั่วออกมา เกิดเป็นถุงน้ำขึ้น อาจมี ประวัติ การบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก หรือ อาจเป็นผลจากการทำงานโดยเฉพาะงานที่ต้องมีการ กระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย ๆ พบบ่อยในผู้หญิง ช่วงอายุ 20 - 40 ปี

การป้องกัน

      ไม่มีวิธีป้องกัน

การรักษา

       ก้อน (ถุงน้ำ) ที่เกิดขึ้นอาจยุบหรือหายไปเองได้ การนวดที่ก้อนอาจช่วยทำให้ ก้อนยุบได้ หรืออาจใช้เข็มฉีดยาดูดน้ำออก แต่มีโอกาสเกิดถุงน้ำขึ้นอีกได้มาก แพทย์อาจทำการผ่าตัดโดยตัดถุงน้ำนี้  ออกจากบริเวณเยื่อหุ้มข้อมือ ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดถุงน้ำ ขึ้นใหม่ได้น้อยลง



การผ่าตัด

        แพทย์จะนัดผู้ป่วยแบบผู้ป่วยนอกทำแล้วกลับบ้านได้ ไม่ต้องค้างคืนที่โรงพยาบาล แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณรอบๆ ก้อน แล้วก็เลาะเอาก้อนออก ขนาดแผลขึ้นอยู่กับขนาดก้อนคะ. ถ้ามีหลายก้อนก็จะต้องผ่าตัดเอาก้อนออกให้หมด ในกรณีที่ช่องต่อเข้าไป ในข้อมือมีขนาดใหญ่ก็  จะต้องตัดเยื่อหุ้มข้อมือบางส่วนออกไปด้วยแล้วเย็บซ่อมช่องที่เชื่อมต่อเข้าไปในข้อมิฉะนั้นจะทำให้มีโอกาส เป็นซ้ำ อีกได้ ถ้ารักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะมี โอกาสเป็นซ้ำประมาณ 5-15 %

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด

1.แขวนแขนไว้หลังผ่าตัดเสร็จ1วันป้องกันปลายมือบวม

2. แผลผ่าตัดเป็นแผลสะอาด ไม่จำเป็นต้องล้างทำความสะอาดแผล

3. ห้ามแผลเปียกน้ำโดยเด็ดขาดหากเปียกน้ำให้ทำความสะอาดแผลที่สถานีอนามัยใกล้บ้านหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

4. หมั่นบริหารมือหลังผ่าตัด โดยวิธีกำมือ แบมือบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต   ลด อาการบวม และเป็นการบริหารเส้นเอ็นให้ เคลื่อนที่ผ่านได้ดีขึ้น

5. หากผ้าพันแผลรัดแน่นเกินไป สามารถแก้พันใหม่ให้หลวมได้ หลังผ่าตัด 6ชม. แต่อย่าเปิดผ้าปิดแผลออกโดยเด็ดขาด

6. หากเกิดอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง ถ้ามีบวมหรือมีเลือดออกมากให้มาพบแพทย์ที่      โรงพยาบาลทันที

7. มาตรวจตามแพทย์นัด หรือหากไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ให้ตัดไหมที่สถานีอนามัยใกล้ตามแพทย์นัดได้ปกติภายใน 2 อาทิตย์

รพ.อานันทมหิด มีแพทย์ชำนาญด้านกระดูกและข้อ ฝีมือดี  4 ท่าน ด้วยกัน  ค่ะ ได้แก่
       1.พ.อ.ชูสิทธฺิ์
       2. พ.อ. ธีรวัฒน์
       3.พ.ท.ชัยพร
       4.พ.ต.รัฐศิริ
ใข้เวลาผ่าตัด ประมาณ 8 - 15 นาที  แต่อาจจะรอผ่าตัดนานนิดหนึ่ง เพราะ แพทย์จะนัดผ่าตัดวันละ 4-5 คน มากสุด ไม่เกิน 10 คน ค่ะ สบายใจได้   
   ค่าผ่าตัด ประมาณ  850 - 1200 บาท ค่ะ    ทีมห้องผ่าตัดพร้อมแล้วค่ะ แล้วคุณพร้อมหรือยัง แพทย์จะออกตรวจทุกวัน จันทร์ และพุธ  8.00-12.00 ค่ะ  นอกเวลา วันพฤหัส เวลา 16.00-20.00 น   แพทย์ตรวจแล้ว นัดเจอกันที่ห้องผ่าตัด ชั้น 2 ตึกกัลยาณิวัฒนา นะค่ะ  ติดตามกันใหม่เรื่องต่อไปนะค่ะ