วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ก้อนเนื้อหรือถุงน้ำบริเวณข้อมือ

(Carpal ganglion)

     เป็นก้อนถุงน้ำพบบ่อยบริเวณหลังข้อมือ ส่วนใหญ่จะเป็นถุง ซึ่งบรรจุน้ำข้นเหนียว ลักษณะเดียวกันกับน้ำไขข้อ อยู่ภายใน ก้อนที่พบอาจมีขนาดตั้งแต่เมล็ดถั่ว จนถึงขนาดปลายนิ้วหัวแม่มือ อาจยึดแน่นอยู่กับข้อมือ หรืออาจมีการเคลื่อนที่ได้ เล็กน้อย





อาการ

     เป็นก้อนนูนขึ้น   ค่อนข้างแข็ง ผิวเรียบ และไม่เคลื่อนที่ กดไม่เจ็บ   อาจปวดข้อมือเล็กน้อย  เคลื่อนไหวข้อไม่สะดวก  เนื่องจากก้อนถุงน้ำ ไปกดเบียด  เส้นเอ็นหรือเยื่อบุข้อ  ถ้ากระดกข้อมือขึ้น  หรือ งอข้อมือลง  จะทำให้ขนาดของก้อนถุงน้ำเปลี่ยนแปลง   ถ้าปล่อยไว้ก้อนจะค่อยๆโตอย่างช้า ๆ อาจใช้เวลา นานหลายเดือน หรือ เป็นปี





สาเหตุ

      ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากการเสื่อมสลายของเนื้อเยื้อหุ้มข้อมือจึงเกิดเป็นจุดอ่อนขึ้นจนทำให้น้ำหล่อเลี้ยงข้อมือรั่วออกมา เกิดเป็นถุงน้ำขึ้น อาจมี ประวัติ การบาดเจ็บจากการกระทบกระแทก หรือ อาจเป็นผลจากการทำงานโดยเฉพาะงานที่ต้องมีการ กระดกข้อมือขึ้นลงบ่อย ๆ พบบ่อยในผู้หญิง ช่วงอายุ 20 - 40 ปี

การป้องกัน

      ไม่มีวิธีป้องกัน

การรักษา

       ก้อน (ถุงน้ำ) ที่เกิดขึ้นอาจยุบหรือหายไปเองได้ การนวดที่ก้อนอาจช่วยทำให้ ก้อนยุบได้ หรืออาจใช้เข็มฉีดยาดูดน้ำออก แต่มีโอกาสเกิดถุงน้ำขึ้นอีกได้มาก แพทย์อาจทำการผ่าตัดโดยตัดถุงน้ำนี้  ออกจากบริเวณเยื่อหุ้มข้อมือ ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดถุงน้ำ ขึ้นใหม่ได้น้อยลง



การผ่าตัด

        แพทย์จะนัดผู้ป่วยแบบผู้ป่วยนอกทำแล้วกลับบ้านได้ ไม่ต้องค้างคืนที่โรงพยาบาล แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่บริเวณรอบๆ ก้อน แล้วก็เลาะเอาก้อนออก ขนาดแผลขึ้นอยู่กับขนาดก้อนคะ. ถ้ามีหลายก้อนก็จะต้องผ่าตัดเอาก้อนออกให้หมด ในกรณีที่ช่องต่อเข้าไป ในข้อมือมีขนาดใหญ่ก็  จะต้องตัดเยื่อหุ้มข้อมือบางส่วนออกไปด้วยแล้วเย็บซ่อมช่องที่เชื่อมต่อเข้าไปในข้อมิฉะนั้นจะทำให้มีโอกาส เป็นซ้ำ อีกได้ ถ้ารักษาด้วยวิธีผ่าตัดจะมี โอกาสเป็นซ้ำประมาณ 5-15 %

การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด

1.แขวนแขนไว้หลังผ่าตัดเสร็จ1วันป้องกันปลายมือบวม

2. แผลผ่าตัดเป็นแผลสะอาด ไม่จำเป็นต้องล้างทำความสะอาดแผล

3. ห้ามแผลเปียกน้ำโดยเด็ดขาดหากเปียกน้ำให้ทำความสะอาดแผลที่สถานีอนามัยใกล้บ้านหรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน

4. หมั่นบริหารมือหลังผ่าตัด โดยวิธีกำมือ แบมือบ่อยๆ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต   ลด อาการบวม และเป็นการบริหารเส้นเอ็นให้ เคลื่อนที่ผ่านได้ดีขึ้น

5. หากผ้าพันแผลรัดแน่นเกินไป สามารถแก้พันใหม่ให้หลวมได้ หลังผ่าตัด 6ชม. แต่อย่าเปิดผ้าปิดแผลออกโดยเด็ดขาด

6. หากเกิดอาการปวด ให้รับประทานยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง ถ้ามีบวมหรือมีเลือดออกมากให้มาพบแพทย์ที่      โรงพยาบาลทันที

7. มาตรวจตามแพทย์นัด หรือหากไม่พบอาการผิดปกติใดๆ ให้ตัดไหมที่สถานีอนามัยใกล้ตามแพทย์นัดได้ปกติภายใน 2 อาทิตย์

รพ.อานันทมหิด มีแพทย์ชำนาญด้านกระดูกและข้อ ฝีมือดี  4 ท่าน ด้วยกัน  ค่ะ ได้แก่
       1.พ.อ.ชูสิทธฺิ์
       2. พ.อ. ธีรวัฒน์
       3.พ.ท.ชัยพร
       4.พ.ต.รัฐศิริ
ใข้เวลาผ่าตัด ประมาณ 8 - 15 นาที  แต่อาจจะรอผ่าตัดนานนิดหนึ่ง เพราะ แพทย์จะนัดผ่าตัดวันละ 4-5 คน มากสุด ไม่เกิน 10 คน ค่ะ สบายใจได้   
   ค่าผ่าตัด ประมาณ  850 - 1200 บาท ค่ะ    ทีมห้องผ่าตัดพร้อมแล้วค่ะ แล้วคุณพร้อมหรือยัง แพทย์จะออกตรวจทุกวัน จันทร์ และพุธ  8.00-12.00 ค่ะ  นอกเวลา วันพฤหัส เวลา 16.00-20.00 น   แพทย์ตรวจแล้ว นัดเจอกันที่ห้องผ่าตัด ชั้น 2 ตึกกัลยาณิวัฒนา นะค่ะ  ติดตามกันใหม่เรื่องต่อไปนะค่ะ




3 ความคิดเห็น:

  1. ถ้าเราไปผ่าออกแล้วจนถึงวันตัตไหมหลังจากตัตไหมห้ามโดนนำ้กี่วันคับ

    ตอบลบ
  2. ผมก็เป็นครับแต่ไม่รู้ว่าแบบเดียวกันหรึอป่าวนะ แต่ปวดมากงอมึ้อไม่ได้เลยครับ ต้องทำไงครับ

    ตอบลบ
  3. เป็นเหมือนกันคะ แต่ก่อนชอบยกชอบหิ้วของบ่อยมากสมัยมหาลัย ชอบแบกของหนัก เป็นจนได้ กดๆดู เริ่มปวดหน่อยๆแล้ว

    ตอบลบ